Neuro KKU

ข้อมูลเกี่ยวกับหน่วย

ส่วนล่างของฟอร์ม

ปณิธาน วิสัยทัศน์ พันธกิจ

ปณิธาน

หน่วยประสาทศัลยศาสตร์ ตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนการผลิตบัณฑิตสาขาแพทยศาสตร์ และเพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนประสาทศัลยแพทย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประสาทศัลยแพทย์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และเป็นศูนย์กลางความร่วมมือในการค้นคว้า วิจัย เพื่อแก้ปัญหาโรคทางประสาทศัลยศาสตร์กับนักวิชาการทั้งในและต่างประเทศ

วิสัยทัศน์

เพื่อผลิตบัณฑิต การรักษาพยาบาล และงานวิชาการ ที่มีคุณค่าต่อสังคมไทย”

พันธกิจ

หลักสูตรการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านเพื่อวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมสาขาประสาทศัลยศาสตร์ มีเป้าหมายให้แพทย์ประจำบ้านที่สำเร็จ การฝึกอบรม เป็นประสาทศัลยแพทย์ที่มี ความรู้ความสามารถและทักษะ ทั้งในด้าน การรักษา การศึกษาต่อเนื่อง การวิจัยพัฒนา ความสามารถในการทำงานแบบมืออาชีพปฏิบัติงานแบบสหวิชาชีพเป็นทีมได้ มีเจตนารมณ์และเตรียมความพร้อมที่จะเรียนรู้ตลอดชีวิต มีความเอื้ออาทรและใส่ใจในความปลอดภัยเพื่อการแก้ไขปัญหาและการส่งเสริมสุขภาพ โดยยึดหลักผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางบนพื้นฐานของการดูแลแบบองค์รวม มีพฤติกรรมที่เหมาะสมต่อเพื่อนร่วมงานทั้งในวิชาชีพของตนเองและวิชาชีพอื่น ๆ รวมทั้งผู้ป่วยและญาติ และสามารถบริหารจัดการในการให้บริการผู้ป่วยทางประสาทศัลยศาสตร์ได้อย่างสมบูรณ์ครบวงจรตามความต้องการของประเทศไทยและสามารถเทียบเทียมนานาชาติได้

หน่วยประสาทศัลยศาสตร์ฯใช้หลักการของผู้รับการฝึกอบรมเป็นศูนย์กลาง สนับสนุนให้ผู้รับการฝึกอบรมแสดงความรับผิดชอบต่อกระบวนการเรียนรู้ของตนเองและได้สะท้อนการเรียนรู้นั้น ๆ (self-reflection) และชี้นำผู้เข้ารับการฝึกอบรมโดยอาศัยหลักการของการกำกับดูแล (supervision) การประเมินค่า (appraisal) และการให้ข้อมูลป้อนกลับ (feedback) อย่างเป็นระบบ โดยการฝึกอบรมต้องได้รับความรู้ทั้งในภาคทฤษฎี การทำวิจัย ทักษะหัตถการผ่าตัดต่าง ๆ อย่างครบถ้วนตามเกณฑ์กำหนดของหน่วยประสาทศัลยศาสตร์ฯและราชวิทยาลัยประสาทศัลยแพทย์ รวมไปถึงสามารถรับการประเมินได้ว่ามีความรู้เหล่านั้นจริงและสามารถนำความรู้ที่ได้นั้นมาบูรณาการฝึกปฏิบัติกับผู้ป่วยจนมีความชำนาญ

แพทย์ที่จบการฝึกอบรมเป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาประสาทศัลยศาสตร์ต้องมีคุณสมบัติและความรู้ความสามารถขั้นต่ำตามสมรรถนะหลักทั้ง 6 ด้านดังนี้

1) การดูแลรักษาผู้ป่วย (Patient Care)

1. มีทักษะในการดูแลด้านประสาทศัลยศาสตร์ ในระยะก่อน ระหว่าง และหลังผ่าตัด รวมทั้งภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัด

2. มีทักษะในการผ่าตัด สาหรับหัตถการต่าง ๆ และในผู้ป่วยชนิดต่าง ๆ

3. มีทักษะในการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บต่อระบบประสาท (traumatic brain and spine)

4. มีทักษะในการดูแลผู้ป่วยเนื้องอกระบบประสาท (neoplasm of nervous system)

5. มีทักษะในการดูแลผู้ป่วยโรคกระดูกสันหลัง (spinal diseases)

6. มีทักษะในการดูแลและรักษาผู้ป่วยโรคลมชักและความผิดปกติในการทางานของสมอง (epilepsy and functional neurosurgical diseases)

7. มีทักษะในการดูแลและรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดในสมอง (cerebrovascular diseases)

8. มีทักษะในการดูแลและรักษาผู้ป่วยเด็กที่มีความพิการในระบบประสาท (pediatric neurosurgical diseases)

9. มีทักษะในการดูแลและรักษาผู้ป่วยโรคระบบประสาทส่วนปลาย (peripheral nerve diseases)

2) ความรู้ ความเชี่ยวชาญ และความสามารถในการนาไปใช้แก้ปัญหาของผู้ป่วยและสังคมรอบด้าน

(Medical Knowledge and Skills)

1. เข้าใจวิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐานของร่างกาย ที่เกี่ยวข้องกับประสาทศัลยศาสตร์

2. มีความรู้ความสามารถในวิชาชีพ และเชี่ยวชาญในสาขาประสาทศัลยศาสตร์

3) การเรียนรู้จากการปฏิบัติ และการพัฒนาตนเอง

1. ดำเนินการวิจัยทางการแพทย์และสาธารณสุขได้

2. วิพากษ์บทความและงานวิจัยทางการแพทย์

3. เรียนรู้และเพิ่มประสบการณ์ได้ด้วยตนเองจากการปฏิบัติ

4) ทักษะปฏิสัมพันธ์ และการสื่อสาร (Interpersonal and Communication Skills)

1. นำเสนอข้อมูลผู้ป่วย และอภิปรายปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ

2. ถ่ายทอดความรู้และทักษะ ให้แพทย์ นักศึกษาแพทย์ และบุคลากรทางการแพทย์

3. สื่อสารให้ข้อมูลแก่ญาติ และผู้ป่วย ได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ โดยมีเมตตาเคารพการตัดสินใจและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์

4. มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ทางานกับผู้ร่วมงานทุกระดับอย่างมีประสิทธิภาพ

5. เป็นที่ปรึกษาและให้คาแนะนาแก่แพทย์และบุคคลากรอื่น โดยเฉพาะทางประสาทศัลยศาสตร์

5) ความเป็นมืออาชีพ (Professionalism)

1. มีคุณธรรม จริยธรรม และเจตคติอันดีต่อผู้ป่วย ญาติ ผู้ร่วมงาน เพื่อนร่วมวิชาชีพและชุมชน

2. มีทักษะด้านที่ไม่ใช่เทคนิค (Non-technical skills) และสามารถบริหารจัดการสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องได้เหมาะสม

3. มีความสนใจใฝ่รู้ และสามารถพัฒนาไปสู่ความเป็นผู้เรียนรู้ต่อเนื่องตลอดชีวิต (continuous professional development)

4. มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย

5. คำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวม

6) การปฏิบัติงานให้เข้ากับระบบ (System-based practice)

1. มีความรู้เกี่ยวกับระบบสุขภาพของประเทศ

2. มีความรู้และมีส่วนร่วมในระบบพัฒนาคุณภาพการดูแลรักษาผู้ป่วย

3. ใช้ทรัพยากรสุขภาพอย่างเหมาะสม (cost consciousness medicine) และสามารถปรับเปลี่ยนการดูแลรักษาผู้ป่วยให้เข้ากับบริบทของการบริการสาธารณสุขได้ตามมาตรฐานวิชาชีพ

 

 

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

เกี่ยวกับระบบ

หน่วยศัลยกรรมทางสมอง มหาวิทยาลัยขอนแก่น Neurosurgery เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อศึกษาของประเทศไทย ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป

ข้อมูลติดต่อ

สถานที่ตั้ง 123 ถนนมิตรภาพ อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40002 ประเทศไทย เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ 043-363031,043-363111